ชำแหละ! ขบวนการสวมสิทธิ-สอดไส้ ทุเรียนไทย

วานนี้ 29 มิ.ย. 2566 ทีมข่าวได้พูดคุยกับ นายชลธี นุ่มหนู แกนนำเครือข่ายพิทักษ์ทุเรียนไทย ซึ่งให้ข้อมูลเกี่ยวกับขบวนการลักลอบนำเข้าทุเรียนว่ามีมานานแล้ว และปัจจัยหลักๆ ที่ทำให้เกิดการสวมสิทธิก็มาจากใบรับรองผลผลิต คือ GAP ที่เกษตรกรจะต้องมี

ตามหลักการซื้อขายทุเรียนเพื่อส่งออก จะเริ่มตั้งแต่การเข้ามาติดต่อขอซื้อทุเรียนจากเกษตรกรจากนั้นจะมีการเข้ามาตัดทุเรียนไปส่ง “ล้ง” ในขั้นตอนนี้จะต้องขอใบ GAP จากสวนทุเรียน เพื่อยืนยันที่มาที่ไปคำพูดจาก เว็บสล็อตแท้

ไม่จบ! ตัวแทนล้ง แฉพิรุธจับทุเรียนเถื่อน

แฉ! พบทุเรียนเถื่อน จ่อรอเข้าไทยอีก 100 ตัน

เมื่อล้งรับซื้อทุเรียนมาแล้ว เช่น ซื้อทุเรียนมาจาก 10 สวน ก็จะต้องมีใบ GAP จำนวน 10 ใบ แต่ในความเป็นจริงแล้วอาจจะมีไม่ครบทั้ง 10 สวนก็จะเกิดการสวมสิทธิว่าทุเรียนทั้งหมดเป็นของสวนที่มีใบ GAP หรือบางครั้งก็มีการซื้อขาย ปลอมใบ GAP กันด้วย ซึ่งมีราคาซื้อขายกันตั้งแต่ 2,000 – 5,000 บาท

ส่วนวิธีการลักลอบนำทุเรียนเพื่อนบ้าน เข้ามาสวมสิทธิทุเรียนไทยนั้น ในช่วงแรกก็จะมีการนำเอาทุเรียนเพื่อนบ้าน ข้ามแดนมาทั้งในลักษณะกองทัพมดผ่านช่องทางธรรมชาติ หรือใช้การสำแดงเท็จ ผ่านด่านถาวร พอเข้ามาถึงไทย ก็จะนำไปบรรจุกล่องปะปนกับทุเรียนไทย สวมใบ GAP แล้วส่งออกไปจีน

จากนั้นก็มีการปรับเปลี่ยนวิธีการ คราวนี้ก็จะขนทุเรียนเข้ามาไทยแล้ว แต่จะนำไปรอพักอยู่ที่ประเทศต้นทาง แล้วมีการหลอกนำตู้คอนเทนเนอร์เปล่าไปขอเอกสารส่งออก ซึ่งในขั้นตอนนี้ในวงการรู้กันว่า จะมีค่าใช้จ่ายค่าเอกสารประมาณ 3 แสนบาท พอได้เอกสารแล้ว ก็จะเอาไปสวมตู้คอนเทนเนอร์ที่เตรียมไว้ เพื่อส่งไปจีน

ล่าสุดก็คือ ไม่มีทั้งทุเรียน และไม่มีตู้คอนเทนเนอร์ มีแค่ใบ GAP ปลอม แล้วก็เอาไปสวมที่ประเทศเพื่อนบ้านว่าเป็นทุเรียนไทย แล้วก็ส่งออกไปเลย

ข้อสงสัยเกี่ยวกับทุเรียนจำนวน 8 ตันที่ถูกจับในจังหวัดสระแก้ว ตกลงแล้วเป็นทุเรียนเถื่อนจริงหรือไม่ ล่าสุดทาง นายระพีภัทร์ จันทร์ศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ได้ออกมาให้ข้อมูลว่า หลังเกิดเรื่องได้รวบรวมหลักฐาน และแจ้งความดำเนินคดี ที่สถานีตำรวจภูธร อ.เมืองนครพนม ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ทางบริษัทผู้เสียหายจะทำการส่งออก ในข้อหาอาญา เพราะเกี่ยวข้องกับการแจ้งความอันเป็นเท็จเกี่ยวกับเจ้าหน้าที่ เพื่อให้ได้มาซึ่งรองสุขอนามัยพืช (แบบ พ.ก.7) สำหรับทุเรียน ทำให้ผู้อื่น หรือประชาชนเสียหาย

พร้อมทั้งมีคำสั่ง ระงับล้งส่งออก ระงับบริษัทชิปปิ้ง และดำเนินเอาผิดทางอาญา เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดผลกระทบและความเข้าใจผิดในการค้า

นายระพีภัทร์ ยังบอกด้วยว่า ทางกรมไม่ได้นิ่งนอนใจ พยายามเร่งตรวจสอบให้เร็วที่สุด และที่ผ่านมา ดําเนินงานกรณีพบการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมายแล้วกว่า 200 ราย พร้อมย้ำเตือนเกษตรกรเกี่ยวกับ ใบ GAP ไม่ให้มีการซื้อขายและระวังการแอบอ้างนำไปสวมสิทธิ.

You May Also Like

More From Author