“ประธาน ส.อ.ท.” ชี้ไทยต้องมุ่งเป็นฐานการผลิตใหม่ นำดิจิทัลมายกระดับ พร้อมแก้ ก.ม.ที่เป็นอุปสรรค

เมื่อวันที่ 13 ธ.ค. ที่ห้องแกรนด์บอลรูม โรงแรมอินเตอร์คอนฯ ราชประสงค์ กรุงเทพฯ หนังสือพิมพ์เดลินิวส์และเดลินิวส์ออนไลน์ ได้จัดเสวนาภายใต้ชื่องาน “Dailynews Talk 2023” โดยมีนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรมว.คลัง ร่วมเสวนาในหัวข้อ “คนไทยถาม นายกฯเศรษฐาตอบ” โดยมีผู้บริหารเดลินิวส์ คือ นางประพิณ รุจิรวงศ์ กรรมการบริหาร นางสิริวรรณ พันธุ์ปรีชากิจ กรรมการบริหาร นายปารเมศ เหตระกูล กรรมการบริหาร นายนต รุจิรวงศ์ เลขานุการคณะกรรมการบริหารหนังสือพิมพ์เดลินิวส์และเดลินิวส์ออนไลน์นายนนท์ รุจิรวงศ์ ผอ.ฝ่ายขายและจัดจำหน่าย และ นายภาสภณ เหตระกูล ผอ.ฝ่ายขนส่งและยานยนต์ ให้การต้อนรับ

นอกจากนี้ยังได้มีการเสวนาในเวทีที่ 2 หัวข้อ “เศรษฐกิจไทยต้องไปต่อ (อย่างไร)” โดยมี นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) นายชำนาญ ศรีสวัสดิ์ ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (สทท.) และ ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล กรรมการรองผู้จัดการใหญ่ธนาคารกรุงเทพ และประธานสภาธุรกิจตลาดทุนไทย ร่วมเสวนา

นายเกรียงไกร เธียรนุกุล กล่าวว่า อุตสาหกรรมไทยในแบบเก่าหรือดั้งเดิม มีต้นทุนส่วนใหญ่อยู่ที่ค่าแรงงาน ทำให้กำไรลดน้อยลง และยังมีคู่แข่งคือ ประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่ เวียดนาม ฟิลิปปินส์ ที่ตอนนี้มีเสน่ห์เหมือนประเทศไทยใน 50 ปีที่แล้ว ที่ต้นทุนด้านแรงงานถูกกว่า และยังมีเอฟทีเอกับทางอียู ทำให้ไม่ต้องเสียภาษี มีแต้มต่อกว่าไทย ขณะที่ไทยยังไม่มี สินค้าจึงย้ายฐานการผลิตไปเวียดนามหมด โดย 4 โรงงานนั้น จะมาไทย 1 โรงงาน อีก 3 โรงงานไปเวียดนาม เป็นฐานการผลิต ทำให้ตัวเลขส่งออกเวียดนามดีกว่าไทย ขณะที่ไทยตอนนี้วัยแรงงานลดลง เข้าสู่สังคมสูงวัย ปี 65 ที่ผ่านมาเด็กเกิดใหม่ลดลงกว่าจำนวนเสียชีวิต จะส่งผลทำให้แรงงานลดลงเรื่อยๆ

“ถือเป็นเรื่องประเทศไทยต้องฟื้นฟู เราต้องมีสินค้าใหม่ๆ เป็นฐานผลิตใหม่ๆ จึงต้องมองอุตฯแห่งอนาคต และอุตฯเป้าหมาย หรือ S – Curve นำนวัตกรรมเข้ามา และเรื่องบีซีจี คือ เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว และเรื่องการเปลี่ยนแปลงคุณภาพอากาศ จึงเป็น 3 เรื่องที่จะมีการผลักดัน”คำพูดจาก สล็อต888

นายเกรียงไกร กล่าวต่อว่า สภาอุตฯ มีโปรแกรมที่ช่วยในหลายเซ็กเตอร์ ต้องเปลี่ยนสินค้าที่ผลิตให้มีดีไซน์ และแบรนด์ของตัวเอง ซึ่งในระบบโกลบอล แบรนด์​ไทยยังมีน้อยมากไม่กี่แบรนด์เท่านั้น นอกจากนี้ต้องเปลี่ยนผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ใช้ดิจิทัลมากขึ้น ทรานฟอร์มไปสู่สมาร์ตเอสเอ็มอี ต้อง โก ดิจิทัลโก อินโนเวชั่น และ โก โกลบอล สามารถเกาะเทรนด์ไปสู่ซัพพลายเชนของบริษัทใหญ่ๆ ได้

“เอสเอ็มอีต้องปรับตัว เช่น ตอนนี้เรื่องลดปล่อยคาร์บอนฯ ทางซัพพลายเชนต้องเปลี่ยนไปด้วย ไม่เช่นนั้นไม่ได้รับการว่าจ้าง เช่น อุตฯยานยนต์ไทย ผลิตรถสันดาปใช้น้ำมันติดอันดับ 10 ของโลก ผลิตปีละ 2 ล้านคัน โดย 1 ล้านคัน ใช้ในประเทศ และอีก 1 ล้านคันส่งออก แต่ปัจจุบันลูกค้ามุ่งไปสู่อีวี รถไฟฟ้า เช่น เทสลา ที่มีโอกาสจะเข้ามา ก็ต้องมีพื้นที่สร้างโรงงานและพลังงานสะอาดให้ทางรัฐต้องสามารถสนับสนุนให้ได้

ประธาน ส.อ.ท. ยังกล่าวอีกว่า ภาคอุตฯ ยังต้องใช้ระบบออโตเมชั่นเข้ามามากขึ้น ต้องพัฒนาคน ต้องนำงานวิจัยมาช่วย โดยสภาอุตฯ ก็ร่วมกับ อว.ในการสนับสนุนเงินทุนให้กับสตาร์ทอัพ จับคู่กับธุรกิจของสภาอุตฯ ส่วนเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ ไม่ทำไม่ได้ ต่อไปการผลิตปล่อยก๊าซคาร์บอนฯ มาก ก็เสียค่าปรับ จึงได้จัดตั้งสถาบันการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ (climate change) ช่วยเทรด คาร์บอนเครดิต ให้ได้ง่ายขึ้น และต้องยอมรับว่าโลกเปลี่ยนไป ทรานฟอร์มในอัตราเร่ง เรื่องภูมิรัฐศาสตร์ ก็รุนแรงที่จะกระทบซัพพลายเชน ไทยต้องดูแลเรื่องนี้ให้ได้

“เราต้องปรับพอร์ตการลงทุนใหม่ ส่วนกฎหมายที่เป็นอุปสรรคต่อการค้าและการลงทุน กว่าแสนฉบับต้องได้รับการแก้ไข ต้องปรับโครงสร้างการศึกษา และพัฒนาทักษะแรงงาน ซึ่งภาครัฐและเอกชนต้องร่วมมือกัน เพราะเป็นโจทย์ที่ใหญ่ ทุกภาคส่วนต้องร่วมมือกัน เชื่อว่าประเทศไทยมีทางรอด” ประธาน ส.อ.ท. กล่าวคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

You May Also Like

More From Author